ช่างต่อเรือ
- Details
- Category: ช่างอุตสาหรรม
- Published on 02 May 2014
ประวัติแผนก
กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศจัดตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรีธรรมราช ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2530 เพื่อพัฒนาความรู้ทักษะและความสามารถเกี่ยวกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่ใช้ในการประกอบอาชีพแก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและสนองความต้องการของตลาดแรงงานในการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งของภาคใต้ โดยได้รับความช่วยเหลือจากโครงการเงินกู้กองทุนความร่วมมือทางเศษฐกิจโพ้นทะเลแห่งญี่ปุ่น (OECF) ให้ความช่วยเหลือเป็นเงินกู้ประมาณ 400 ล้านบาท เพื่อใช้ในการจัดซื้อครุภัณฑ์สำหรับการเรียนการสอน เริ่มเปิดการเรียนการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2538 โดยอาศัยสถานที่เรียนของวิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ที่ 263 ถนนราชดำเนิน ตำบลท่าวัง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดทำการสอนครั้งแรก 2 แผนก คือระดับชั้น ปวช. ช่างไฟฟ้าและช่างยนต์ ในปีการศึกษา 2540 ได้ย้ายเข้ามาทำการสอน ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่เลขที่ 147 ถนนท่าเทียบเรือ ตำบลปากพนังฝั่งตะวันตก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ปัจจุบันได้เปิดการเรียนการสอนทั้งระดับชั้น ปวช. และ ปวส. ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม+ประเภทวิชาบริหารธุรกิจสาขาการจัดการขนส่ง และหลักสูตรเทียบเท่าปริญญาตรีนักเรียนเดินเรือพาณิชย์ฝ่ายช่างกล (หลักสูตรพิเศษ)
ขนาด ที่ตั้ง
แผนกวิชาช่างต่อเรือ วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรีธรรมราชตั้งอยู่อาคารหมายเลข 6 มีห้องปฏิบัติการทั้งหมด 2 ห้อง หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อภายใน 075-3707569 ต่อ 114
ปรัชญาของแผนกวิชา
"รักงาน ประสานสามัคคี มีมโนธรรม น้อมนำเศษฐกิจพอเพียง"
รักงาน : นิสัยของช่างต้องรักในงานที่ตนทำและความสะอาด
ประสานสามัคคี : มีความสามัคคีในหมู่คณะ
มีมโนธรรม : ความสำนึกทางธรรมที่มนุษย์ทุกคนมีอยู่โดยธรรมชาติ
น้อมนำเศษฐกิจพอเพียง : รู้จักรใช้เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุอย่างประหยัด
วิสัยทัศน์ประจำแผนกวิชา
วิสัยทัศน์ของแผนกวิชาช่างต่อเรือเป็นสาขาวิชาที่มุ่งผลิต พัฒนากำลังคน ทางด้านวิชาชีพอย่างมีคุณภาพได้มาตรฐาน สู่ความเป็นเลิศทางวิชาการสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี โดยยึดแนวปรัชญาของเศษฐกิจพอเพียง
พันธกิจ
พันธกิจของแผนกวิชาช่างต่อเรือประกอบด้วย
พันธกิจที่ 1 จัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีสมรรถนะอาชีพ ตรงความต้องการของตลาดแรงงาน
พันธกิจที่ 2 ส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านวิชาชีพ ให้เป็นเลิศทางวิชาการ
พันธกิจที่ 3 บริการและฝึกวิชาชีพ สู่องค์กรภายนอก
พันธกิจที่ 4 ส่งเสริมค้นคว้าวิจัย และพัฒนานวัฒกรรม สิ่งประดิษฐ์อย่างต่อเนื่อง
หลักสูตรการสอนของแผนกวิชาช่างต่อเรือ
ระดับและสาขาวิชาที่เปิดสอน ปัจจุบันแผนกวิชาช่างต่อเรือจัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พ.ศ.2545 (ปรับปรุง พ.ศ.2546) และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พ.ศ.2546 และหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นหลากหลาย ดังนี้
1. หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จำนวน 1 สาขางาน ดังนี้
- สาขางานต่อเรือไฟเบอร์กล๊าส
2.หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำนวน 1 สาขางาน ดังนี้
- สาขางานช่างต่อเรือ ระบบทวิภาคี
3.หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นหลากหลาย
บุคลากร
นายฉัตรชัย อนุวัฒน์ |
นายพิทักษ์ รอดแก้ว |
นายวีระวุฒิ ลำโป |
|
นายสุวัฒน์ ชายเลี้ยง |
นายณัฐวุฒิ รักษาชล |
รูปภาพห้องเรียนแผนกวิชาช่างต่อเรือ