ข้อมูลวิทยาลัย

ข้อมูลทั่วไป

ประวัติวิทยาลัย

กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศจัดตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรี ธรรมราช ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2530 เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะ และความสามารถเกี่ยวกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ใช้ในการประกอบอาชีพ แก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและสนองความต้องการของตลาดแรงงานในการพัฒนาพื้นที่ ชายฝั่งทะเลภาคใต้ โดยได้รับความช่วยเหลือจากโครงการเงินกู้กองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลแห่งญี่ปุ่น(OECF)เป็นเงินกู้ประมาณ 400 ล้านบาท เพื่อใช้ในการจัดซื้อครุภัณฑ์ สำหรับการเรียนการสอน เริ่มเปิดทำการสอนครั้งแรก เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2538 โดยอาศัยสถานที่เรียนของวิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช โดยเปิดทำการสอนครั้งแรก 2 แผนก คือ ระดับ ปวช. ช่างไฟฟ้ากำลังและช่างยนต์ ต่อมาได้เปิด แผนกอิเล็กทรอนิกส์ ในปีการศึกษา 2539 ช่างกลโรงงาน ช่างเชื่อมโลหะแผ่น และช่างต่อเรือ ในปีการศึกษา 2540 ต่อมาในปีพ.ศ.2546 เปิดสอนในระดับเทียบเท่าปริญญาตรี ร่วมกับศูนย์ฝึกพาณิชยนาวี จ. สมุทรปราการ ในหลักสูตรพาณิชยนาวี (ฝ่ายช่างเครื่องกลเรือ) ปีพ.ศ.2549 เปิดปวส.สาขาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สาขาเทคโนโลยีโลจิตติกส ์และการจัดบริหารโลจิตติกส์ (สาขางานบริหารการขนส่งทางเรือ)

สีที่เป็นสัญลักษณ์ของวิทยาลัย

- สีฟ้า หมายถึง ความหมายของท้องฟ้าที่กว้างไกล มีความทะเยอทะยาน มุ่งมั่น
- สีคราม หมายถึง ทะเลที่มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ปรัชญาของวิทยาลัย

"รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม"

คือปรัชญาของวิทยาลัยที่ใช้เป็นหลักในการดำเนินงาน มุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอน ให้ความรู้ควบคู่คุณธรรม เสริมสร้างนิสัยที่ดีเพื่อให้นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษามีคุณภาพเป็นที่ยอม รับและตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน สามารถอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างสงบสุข ช่วยเหลือสังคมและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ

เอกลักษณ์

สถาบันการศึกษาเฉพาะทาง เด่นด้านพาณิชยนาวี

อัตลักษณ์

ผู้เรียนมีความรู้ มีทักษะตรงตามมาตรฐานวิชาชีพ

วิสัยทัศน์

มุ่งมั่นพัฒนาให้เป็นสถาบันการศึกษาที่เป็นเลิศด้านวิชาชีพเฉพาะทาง เพื่อสนองความต้องการของชุมชน ประเทศชาติสู่ระดับสากล

พันธกิจ

1. จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ
2. ผลิตกำลังคนในระดับช่างฝีมือเข้าสู่งานอุตสาหกรรมการต่อเรือและพาณิชยนาวี
3. ปลูกฝังให้บุคลากรมีคุณธรรม จริยธรรม ในการประกอบวิชาชีพและภาคภูมิใจในการประกอบวิชาชีพ
4. เป็นศูนย์กลางบริการทางวิชาชีพและเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรม
5. ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
6. ส่งเสริมสนับสนุนในการพัฒนาวิชาชีพให้ชุมชน
7. สนับสนุนการวิจัย เพื่อการพัฒนาวิชาชีพ
8.เพื่อให้สถานศึกษานำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการจัดการ เรียนการสอนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและการบริหารจัดการสถานศึกษา

เป้าหมาย

1. ผู้เรียนมีสมรรถนะวิชาชีพตรงตามความต้องการของชุมชน และตลาดแรงงาน
2. พัฒนาบุคลากรให้มีคุณสมบัติตรงตามสาขางานในการประกอบวิชาชีพอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
3. พัฒนาระบบบริหารจัดการและการบริการวิชาชีพสู่ชุมชน
4. นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยมาใช้ในการดำเนินงาน
5. นำผลงานวิจัยไปใช้ในการพัฒนาวิชาชีพ

ทำเนียบผู้บริหาร