NASIC DVT

Font Size

SCREEN

Profile

Menu Style

Cpanel

การศึกษาระบบทวิภาคี ( Dual Vacation Trainint : DVT ) เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของกรมอาชีวศึกษา ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพพุทธศักราช 2538 ของกระทรวงศึกษาธิการ ในเวลาการศึกษา 3 ปี สำเร็จแล้วได้เต็มวุฒิ ปวช. เช่นเดียวกับ ปวช. ระบบปกติ นอกจากนี้ทวิภาคี ยังได้เปิดสอนในระดับประกาศนียบัตรชั้นสูง (ปวส. อีกด้วย)

การฝึกอาชีพระบบทวิภาคีจะแตกต่างไปจากการเรียนการสอนในโรงเรียน อาชีวศึกษาแบบเต็มเวลาทั่วๆ ไป เพราะผู้ที่จะเข้ารับการฝึกได้นั้นจะไม่ใช่ผู้ที่อยู่ในสถานภาพนักเรียน โรงเรียนอาชีวศึกษาโดยง แต่เป็นบุคลากรของสถานประกอบการ เช่น จากบริษัท ห้างร้าน หรือสถานประกอบการอาชีพอิสระ (Liberal Professions) หรือหน่วยงานของรัฐ (Civil Service) ทั้งจากสถานประกอบการขนาดเล็กที่มีบุคลากร ตั้งแต่ 1-4 คน ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่มีบุคลากรกว่า 1000 คนขึ้นไป โดยสถานประกอบการจะรับผู้ที่ต้องการฝึกอาชีพเหล่านี้เข้าเป็นบุคลากรของตนใน ฐานะผู้รับการฝึกอาชีพ (ในกรณีที่เป็นการฝึกอาชีพด้านช่างอุตสาหกรรม มักเรียกบุคลากรหรือเยาวชนเหล่านี้ว่า ช่างฝึกหัด) และจะส่งเข้ามาเรียนทฤษฎีในโรงเรียนอาชีวศึกษา สัปดาห์ละ 1-2 วัน หรือเป็นช่วงๆ ส่วนเวลาที่เหลือนอกจากนั้นจะฝึกปฏิบัติหรือปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ ที่ตนสังกัดอยู่ เวลาที่ใช้ในการฝึกตามหลักสูตรจะอยู่ระหว่าง 3-3.5 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะสาขาอาชีพที่ฝึก

หลักการเรียนแบบทวิภาคีจากประเทศสาธารณรัฐเยอรมัน เริ่มใช้ในประเทศไทยในปี 2536 โดยดำริของ นายจรูญ ชูลาภ ตำแหน่งอธิบดีกรมอาชีวศึกษาในขณะนั้น ทดลองสอนในวิทยาลัยต้นแบบคือ วิทยาลัยเทคนิคปูนซีเมนต์ท่าหลวงอนุสรณ์ จังหวัดสระบุรี โดยได้รับการสนับสนุนจากบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด ประสบความสำเร็จ และได้ขยายไปยังวิทยาลัยในสังกัดทั่วประเทศในปี ๒๕๓๘
ในปี พ.ศ. 2555-2556 วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรีธรรมราชได้รับนักเรียนที่สำเร็จในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง มาศึกษาต่อในระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ระบบทวิภาคี จำนวน 6 สาขาวิชา ดังต่อไปนี้

  1. สาขางานเทคนิคเครื่องกลเรือ มีสถานประกอบการ 13 บริษัท
  2. สาขางานเครื่องมือกล มีสถานประกอบการ 8 บริษัท
  3. สาขางานโลหะการ มีสถานประกอบการ 1 บริษัท
  4. สาขางานเครื่องกลไฟฟ้า มีสถานประกอบการ 2 บริษัท
  5. สาขางานต่อเรือไฟเบอร์กลาส มีสถานประกอบการ 8 บริษัท
  6. สาขางานอิเล็กทรอนิกส์ มีสถานประกอบการ 10 บริษัท

การดำเนินการเรียนในปีการศึกษา ๒๕๕๕ มีสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการรับนักศึกษาในระบบทวิภาคี จำนวน 42 บริษัท

คุณอยู่ที่: Home ข้อมูลทั่วไป ประวัติงานทวิภาคี